คิดมุมกลับเพื่อสุขภาพที่ดี
ขณะที่คุณกำลังอ่านประโยคนี้อยู่ คุณจะอธิบายอารมณ์ความรู้สึกของคุณว่าเป็นอย่างไร?
ลองจินตนาการว่าคุณกำลังยืนส่องกระจกคุณรู้สึกอย่างไร? ต่อมาให้นึกภาพตัวเองยืนชั่งน้ำหนัก
คุณรู้สึกอย่างไร? น่าเสียดายที่ความรู้สึก 2 อย่างหลังเป็นความรู้สึกแบบเดียวกับที่คนส่วนมากมีกับสุขภาพตัวเอง
ทั้งรูปร่างและน้ำหนัก
มีหนังสือมากมายที่เขียวเกี่ยวกับเหตุผลที่เรามีความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองอย่างนั้น
ผมอยากให้คุณเป็นคนตัดสินเองว่าคุณรู้สึกอย่างไร
ผมจึงอยากให้บทความนี้เป็นเรื่องของการหาวิธีเจ๋งๆที่จะทำให้คุณรู้สึกดีกับตัวเอง
สุขภาพและความเป็นอยู่ของตัวเองได้ตลอดเวลา
บรรดาคนรักสุขภาพทั้งหลาย คุณพร้อมหรือยัง อีกครั้งนะ คุณพร้อมหรือยัง? ถ้าพร้อมแล้วก็ได้เวลา....
หยุดก่อน ! ใจเย็นๆ สูดลมหายใจเข้าลึกๆ และทำตัวสบายๆ
คุณคิดว่าผมจะเสนอโปรแกรมเตรียมพร้อมสำหรับการวิ่งมาราธอนภายใน 1 เดือนจริงๆน่ะหรือ? แต่นี่คือการคิดมุมกลับนะ! เราไม่ทำอะไรเหมือนคนอื่นหรอ
ผมเชื่อด้วยใจจริงเลยว่าถ้าคุณอยากมีสุขภาพร่างกายที่ดีแล้วละก็คุณเริ่มจากการทำสุขจิตให้ดีก่อน คิดมุมกลับและเริ่มจากภายในตัวเองก่อนเลย
การเรียนรู้วิธีการผ่อนคลายตัวเองอย่างถูกวิธีต้องอาศัยการทุ่มเทเช่นเดียวกับการฝึกซ้อมวิ่งมาราธอน
เพียงแค่ใช้กล้ามเนื้อคนละส่วนเท่านั้น
หลายคนคิดว่าการผ่อนคลายคือการนั่งอยู่หน้าทีวี อยู่นิ่งๆ และทำตัวขี้เกียจอยู่บ้าน แม้จะถือเป็นการพักผ่อนเหมือนกัน
แต่ไม่ต้องถึงกับใช้หนังสือเล่มนี้เพื่อทำให้เก่งขึ้นหรอก!
ผมขอท้าทายให้คุณเรียนรู้การผ่อนคลายตัวเองอย่างถูกวิธี
และใช้จุดที่แสนวิเศษนั้นเพื่อฝึกฝนตัวเองให้มีสุขภาพและกำลังกายกำลังใจที่ยอดเยี่ยมในระหว่างที่อยู่ในห้วงแห่งการผ่อนคลายสุดๆ วิธีนี้จะช่วยให้คุณอยากทำในสิ่งที่คุณรู้ว่าต้องทำมากขึ้น คุณจะหาเวลาทำและพอใจกับกระบวนการนั้น
วิธีผ่อนคลายอย่างถูกวิธี
1.หาเวลาสัก 15 นาที
คุณทำได้อยู่แล้ว
แค่อย่าโอ้เอ้นั่งดูข่าว ตื่นให้เช้าขึ้น 15 นที เวลาแค่ 15 นาทีคุณหาได้อยู่แล้วถ้าคุณอยากทำ
2.
หาสถานที่ที่ไม่มีใครรบกวน
ปิดโทรศัพท์มือถือ
ไล่เด็กๆให้อยู่เงียบๆเป็นต้น
3. หากคุณไม่ชอบความเงียบ สามารถเปิดเพลงที่ผ่อนคลายเบาๆได้
4.
นั่งตัวตรง
หากคุณเอนตัวนอน
สมองของคุณอาจจะคิดว่าคุณอยากงีบหลับซึ่งมันก็ดีอยู่หรอก แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องทำตอนนี้
5.
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ สัก 2
ครั้งและหลับตาลง
6.
พยายามผ่อนลมหายใจอย่างช้าๆ
7.
เมื่อคุณเริ่มผ่อนคลายแล้ว
ให้มุ่งสมาธิไปที่ความคิด
เสียงและภาพที่ผ่อนคลาย
8. เมื่อคุณผ่อนคลายมากขึ้นเรื่อยๆ
ให้มุ่งไปที่ความรู้สึกดีๆจากการผ่อนคลาย
9.
เมื่อความคิดของคุณเริ่มล่องลอย
ให้ยอมรับความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นและดึงให้กลับมามีสมาธิกับความผ่อนคลายของคุณ
10.
พอคูณรู้สึกผ่อนคลาย
ให้หาโอกาสมองตัวเองว่าคุณแข็งแรงและมีสุขภาพดีแล้ว
มองว่าตัวเองได้เลือกในสิ่งที่ถูกต้อง
กระฉับกระเฉง
มีพลังงานและมีชีวิตชีวา
11. เมื่อได้จังหวะเหมาะแล้ว ให้นับ 1
ถึง 5 เบาๆ
ในขณะที่นับตัวเลขแต่ละตัว
คุณจะรู้สึกตื่นตัวมากขึ้น
12.
เมื่อนับถึง 5 แล้วให้ลืมตาขึ้น ยืดเส้นยืดสาย
และซึมซับความรู้สึกผ่อนคลายอย่างเต็มที่ที่คุณเพิ่งสร้างให้กับตัวเอง
การผ่อนคลายอย่างถูกวิธีต้องอาศัยวินัยและการฝึกฝนแต่ให้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม
มันเป็นสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วว่าควรทำแต่มักไม่ค่อยได้หาเวลาทำ ถ้าอย่างนั้นลองเลิกดูข่าวหรือละครบ้างดีไหม?
การพักผ่อนอย่างลุ่มลึกเป็นพื้นฐานหนึ่ง
ของการมีสุขภาพที่กระฉับกระเฉง
แต่ยังไม่ถึงเวลาต้องออกไปวิ่งหรอกครับ
แม้ว่าการออกกำลังกายให้หัวใจสูบฉีดเลือดลมนั้นจะเป็นส่วนสำคัญในการคิดมุมกลับเพื่อสุขภาพที่ดีอย่างที่ทราบดีอยู่แล้ว
แต่ผมไม่แน่ใจว่าคุณจะรู้ถึงความสำคัญของการยืดเส้นยืดสายเพื่อสุขภาพที่ดีหรือไม่
คุณรู้หรือไม่ว่าเพียงคุณได้ยืดเส้นยืดสายสักสัปดาห์ละสองสามหนคุณจะ
:
☀ ได้เสริมสร้างกล้ามเนื้อ
☀ พัฒนาการทำงานประสานกันของร่างกาย
☀ สามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้น
☀ ทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น
☀ เพิ่มน้ำเลี้ยงไขข้อ
☀ เพิ่มกำลังวังชาให้สูงขึ้น
นอกจากนี้แล้วคุณยังสามารถยืดเส้นยืดสายได้เกือบทุกที่แถมยังไม่เปลืองเงินในกระเป๋าอีกด้วย
ไม่จำเป็นต้องวิ่ง สมัครฟิตเนส
หรือลงทุนลงแรงอะไรเลย
แค่นี้คุณก็รู้สึกได้ถึงสุขภาพที่ดีและความสุขที่เพิ่มพูนได้แล้ว
ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของตัวเองเป็นบ่อเกิดของความกังวล
ความเครียดและอาการหดหู่สำหรับหลายๆคน
ผมเองก็เคยอ่านบทความเกี่ยวกับรูปลักษณ์และรู้ดี(ตามระดับสติปัญญา)
ว่านายแบบที่โชว์ล่ำอยู่บนปกนิตยสารเมนส์เฮลท์(Men’s Health)
นั้นเป็นเพียงคนส่วนน้อยที่มีรูปร่างหน้าตาฟิตเปี๊ยะสมบูรณ์แบบ ถึงอย่างนั้นก็เถอะ
พอมองตัวเองในกระจกทีไรก็มีเรื่องให้ติติงตัวเองได้ทุกที ปัญหาคือเวลาที่เรามองตัวเองในกระจก เราจะมองที่ไหนเล่า? ใช่ครับ
เราจะมองที่ข้อบกพร่องของตัวเอง
มาท้าความคิดในมุมกลับกันดีกว่า ครั้งหน้าที่คุณมองเงาเปื่อยตัวเองในกระจก
ผมขอท้าให้คุณมองในมุมกลับและมองในส่วนของร่างกายที่คุณชอบให้ได้ 3 จุด ใช่ครับมันช่างท้าทายเหลือเกิน แต่ก็เป็นความท้าทายที่สำคัญเช่นกัน
ก็ได้นะ ถ้าคุณมีแรงพอ
ผมเชื่อว่าคุณต้องรู้จักคนที่สามารถตื่นเช้าได้อย่างน่าแปลก (แถมยังน่าหงุดหงิดอีกด้วย) และออกไปวิ่งได้ถึง 5 ไมล์ก่อนอาหารเช้า เลิกพูดเถอะครับว่าคุณทำได้ แต่ช่วยเล่าหน่อยเถอะว่าคุณทำได้ ยังไง
สิ่งที่คนส่วนมากทำตอนที่เริ่ม
“ฟิตหุ่น” ก็คือตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะฟิตให้ได้
และครั้งนี้ต้องไม่เหมือนที่แล้วมา
พวกเขาเริ่มต้นในช่วงสุดสัปดาห์
ออกไปวิ่ง รู้สึกดี เข้าฟิตเนส
วัดหุ่นตัวเอง
ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อนแน่!
พอถึงวันอังคารเขายุ่งมาก ไม่มีเวลาๆไปวิ่ง ต้องทำอะไรอีกเพียบเลย รู้ตัวอีกทีก็ไม่ได้ไปฟิตเนสตั้งหนึ่งสัปดาห์แล้ว ต้องกลับไปใหม่ให้ได้ พวกเขารู้สึกแย่ที่ตัวเองไม่มีวินัย เลิกดีกว่า....
กระบวนการที่ว่านี้มีช่วงเวลาสำคัญที่จุดชนวนของความล้มเหลวและน่าจะเป็นช่วงที่เจองานยุ่งนี่เอง แทบจะเรียกได้ว่าคนเรามีจิตใต้สำนึกที่คอยหาข้ออ้างให้เลิกทำ พอมีข้ออ้างปุ๊บจิตใต้สำนึกของเราก็ถูกปั๊บ ทำให้คว้าน้ำเหลวอยู่นั่น
กระบวนการที่ว่านี้มีช่วงเวลาสำคัญที่จุดชนวนของความล้มเหลวและน่าจะเป็นช่วงที่เจองานยุ่งนี่เอง แทบจะเรียกได้ว่าคนเรามีจิตใต้สำนึกที่คอยหาข้ออ้างให้เลิกทำ พอมีข้ออ้างปุ๊บจิตใต้สำนึกของเราก็ถูกปั๊บ ทำให้คว้าน้ำเหลวอยู่นั่น
คราวหน้าต้องไม่เหมือนคราวนี้
ถ้าจะทำให้คราวนี้ไม่เหมือนคราวก่อน
คุณก็ควรเริ่มต้นโดยการใช้ความคิดที่แตกต่างออกไป
ลองดูแนวคิดในมุมกลับที่จะทำให้ “ครั้งนี้” ไม่เหมือนคราวที่แล้ว 7 ข้อต่อไปนี้
1.เขียนเป้าหมายที่ต้องการทำให้ได้เอาไว้ เอามาอ่านทุกเช้าและทุกคืน
และนึกภาพเป้าหมายนี้ให้ชัดเจนตอนที่คุณฝึกการผ่อนคลาย
2.มุ่งมั่นด้วย “ปณิธานที่แรงกล้า”
อย่าบอกตัวเองว่าจะไปออกกำลังกายสัปดาห์ละ 5 วัน ทั้งที่คุณทำได้แค่ 3 วัน มีวินัยกับปณิธานที่คุณทำได้จริง
3.ทำปณิธานให้มองเห็นได้ แปะรูปครูฝึกไว้ที่ประตูหน้าบ้าน
พับเป้าหมายที่เขียนไว้แล้วเก็บใส่กระเป๋าสตางค์หรือกระเป๋าถือ ทำความสะอาดอุปกรณ์ และเตรียมพร้อมออกลุย
4.กำหนดตารางเวลาการออกกำลังกายของคุณให้มีความสำคัญเทียบเท่ากับการนัดหมายอื่นๆ และจดไดอารี่ไว้
เขียนลงไปในตารางแผนงานที่แปะอยู่บนฝาผนังว่าคุณได้ออกกำลังกายช่วงใดไปบ้างแล้ว
5.หากสามารถทำได้
ให้หาครูฝึกที่ดีที่รับประกันความสำเร็จได้
หลีกเลี่ยงการจ้างครูฝึกหน่อมแน้มประเภทที่จ้างมาแพงๆเพียงเพื่ออ่านนิตยสารสุขภาพและนั่งนับว่าคุณชิตอัพไปกี่หนแล้ว
6.คิดหารางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับตัวเองมากขึ้น
รวมทั้งการลงโทษตัวเองเพื่อกระตุ้นแรงจูงใจเช่นกัน
7.ลบคำว่า “เหนื่อย”
ออกไปจากใจแต่ใช้คำว่า “ถ้าอึดกว่านี้จะดีกว่านี้” หรือ “ต้องอึดให้มากขึ้น”
เหตุผลสำคัญที่สุดที่ทำให้คุณเลิกออกกำลังกายคือความเชื่อที่ว่าคุณเหนื่อยเกินไป ตามด้วยความเชื่อที่ว่าคุณไม่มีเวลา
อันเป็นที่มาของเหตุผลที่ว่าทำไมเราต้องจัดตารางเวลาสำหรับการออกกำลังกายไว้ในไดอารี่ของตัวเอง
เหตุผลอีกข้อหนึ่งคือหลายคนเชื่อว่าจะต้องออกกำลังกายหลายๆชั่วโมงจึงจะฟิตตัวเองและลดน้ำหนักได้ ซึ่งไม่เกี่ยวกันเลย
ตอนที่ผมพบกับพอล
มอร์ต เจ้าของพรีซิชั่นฟิตเนส(Precision Fitness) เขาทำให้ความคิดของผมเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง เขาถามผมว่า “ไมเคิล คุณมีเวลาออกกำลังกายเท่าไหร่?” ผมบอกว่าก็แล้วแต่ ถ้าอยู่บ้นก็มีเวลามากหน่อย แต่ถ้าผมเดินทาง ผมจะไม่ค่อยมีเวลา ความเชื่อแบบนี้ดูแคบชะมัดเลยว่าไหม?
พอลได้แสดงให้ผมเห็นถึงวิธีการคิดมุมกลับโดยแนะนำวิธีการออกกำลังกาย
“เผาผลาญไขมัน”
แบบเต็มที่คุณสามารถทำได้ในห้องพักของโรงแรงโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรเลยโดยใช้เวลา
5 นาที จากนั้นเขาถามแกมประชดว่าผมพอจะเจียดเวลาจาก
“ตารางเวลาอันแสนยุ่งเหยิง” ของผมได้ไหม
ความเหนื่อยเกิดจากความคิดของเราเอง
ไม่ว่าคุณจะเหนื่อยขนาดไหน เชื่อขนมกินได้เลยว่า
ร่างกายของคุณยังมีพลังงานมากพอ
ที่จะออกกำลังกายดีๆ
ได้อีกถึง 99.9%
ที่ดีกว่านั้นคือคุณจะรู้สึกมีพลังเหลือล้นหลังจากได้ออกกำลังกายไปแล้ว
อ้างอิง
Michael
Hrppell. (2555). คิดมุมกลับปรับชีวิตให้เป็นบวก. กรุงเทพ:ดีไลท์พับลิชชิ่ง.